วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556


   บทที่ 1
  บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
         ห้องน้ำเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้เป็นประจำ โดยอย่างยิ่งห้องน้ำสาธารณะ  ห้องน้ำโรงเรียน  ห้องน้ำที่กล่าวมานี้เป็นสถานที่ที่มีบุคคลใช้เยอะ จึงทำให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะความสกปรก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากขยะหรือตัวผู้ใช้เอง ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้หาวิธีการแก้ไขโดยการเก็บขยะตามจุดต่างๆ เพื่อที่จะทำให้ห้องน้ำสะอาดและสามารถทำให้ผู้ใช้อยากใช้ห้องน้ำมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
       1.ทำให้ห้องน้ำสะอาด
       2.ทำให้ผู้ใช้อยากใช้มากยิ่งขึ้น
       3.เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม

สมมติฐานการศึกษา
        สามารถทำให้ห้องน้ำปราศจากขยะ,สะอาด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        1.ได้รู้วิธีการแก้ไขปัญหาห้องน้ำ
        2.ปลูกฝังจิตสำนึกในการมีจิตสาธารณะ
        3.ฝึกฝนความอดทน
บทที่ 2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง

ห้องน้ำ
        คือสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงก่อนเข้าห้องนอนของทุกวัน ทุกคนต้องใช้ห้องน้ำ อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ล้างมือ ล้างเท้า ขับถ่ายของเสียจากร่างกาย เรียกว่าความสะอาดบนเรือนกายและของเสียในร่างกายห้องน้ำรับเหมา ช่วยให้เราออกจากบ้านอย่างมั่นใจหมดปัญหาเรื่องกลิ่นกาย

ความสำคัญ
              ห้องน้ำในบทความนี้เป็นความหมายทั่วไปซึ่งหมายถึง "ห้องส้วม"  ซึ่งแยกเป็นห้องถ่ายอุจจาระ  และที่ถ่ายปัสสวะ หรือเรียกรวมๆว่าห้องส้วม นอกจากนั้นยังหมายถึงห้องอาบน้ำ และอ่างล้างมือด้วย แต่ในการออกกฎกระทรวงได้จำแนกประเภทไว้สำหรับการควบคุมและการจัดสวัสดิการเกี่ยวกับห้องน้ำและห้องส้วมไว้โดยเฉพาะความสำคัญและความจำเป็นของห้องน้ำเป็นที่ทราบโดยทั่วกัน
               1. มีความสะอาด คุณภาพของห้องน้ำวัดได้จากความสะอาดของห้องน้ำ ทั้งที่สัมผัสได้ด้วยการเห็นและการได้กลิ่น และการใช้น้ำยาเคมีสำหรับฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเป็นระยะและต่อเนื่องเสมอในแต่ละวัน
               2. อุปกรณ์ห้องน้ำที่มีคุณภาพ ได้แก่ โถส้วม อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำและสายฉีดชำระ เป็นต้น ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีความคงทน มีมาตรฐานสำหรับการใช้งานสาธารณะได้ ซึ่งจะแตกต่างจากอุปกรณ์ที่ออกหรับการใช้งานในบ้านเรือนหรืออาคารที่พักอาศัย การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้
               3. มีความปลอดภัย ห้องน้ำในสถานศึกษาอาจถูกใช้เป็นที่สำหรับการกระทำผิดต่างๆ การดูแลเรื่องความปลอดภัย เช่น แสงสว่าที่เพียงพอ ไม่อยู่ในที่เปลี่ยว เป็นมุมอับหรือไกลเกินไป
               4.มีแหล่งจ่ายน้ำเพียงพอ แรงดันของน้ำและปริมาณของน้ำสำหรับห้องน้ำต้องเพียงพอ โรงเรียนบางโรงเรียนจำนวนมากไม่สามารถให้บริการห้องน้ำได้ถึงแม้จะมีห้องน้ำก็ตาม เพราะขาดแหล่งจ่ายน้ำได้ตลอดเวลาที่เปิดเรียน หรือตลอดทั้งปีการศึกษา ปริมาณน้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญโยงไปถึงความสะอาดของห้องน้ำอีกด้วย
5. มีระบบระบายน้ำเสีย และการระบายอากาศที่ดีและการอุดตันของท่อระบายน้ำเป็นปัญหาที่พบบ่อยของห้องน้ำ การออกแบบระบบการระบายน้ำเสีย การถ่ายเทอากาศและการใช้มาตรการป้องกันการอุดตันของท่อ                                                 

หน้าที่หลักของห้องน้ำ
                1. เป็นที่พิจารณาความไม่งามของร่างกาย   พิจารณาอายุของเราที่ผ่านไปแต่ละวันแต่ละคืนก็ตรงนี้ แล้วความหลงตัวเองก็จะหมดไป ความเคียดแค้นชิงชังใครก็จะไม่มี
                2. เป็นที่พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
                3. เป็นที่พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย ห้องน้ำเป็นห้องพิจารณาความมีโรคภัยไข้เจ็บของเรา ที่สำคัญที่สุด ห้องน้ำเป็นห้องสำหรับรักษาสุขภาพอย่างดี

 คุณลักษณะที่ดี
                       1.ปลอดภัยและใช้งานสะดวก เรียกว่าเป็นปัจจัยหลักของห้องน้ำ โดยเฉพาะถ้าเป็นโรงเรียนนั้นมีเด็กเราจำเป็นต้องคัดเลือกวัสดุพอสมควร เพื่อให้ความปลอดภัยสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุกลอนประตูที่สามารถเปิดใช้สำรองเวลาฉุกเฉิน
                      2.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใกล้ชิดธรรมชาติ ควรเลือกคกแต่งห้องน้ำสุขภาพดีอย่างเรียบง่าย ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน ต้นไม้ ซึ่งสามารผสมผสานกับสุขภัณฑ์สมัยใหม่ไดเป็นอย่างดี และที่สำคัญอีกอย่างควรเลือกสุขภัณฑ์ที่ดีและรุ่นที่ประหยัดน้ำเพื่อลดการใช้น้ำรวมทั้งประหยัดเงินได้อีกด้วย
                       3.ปลอดเชื้อรา ไร้เชื้อโรคเราสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกวัสดุปูนหรือผนังด้วยวัสดุพื้นเรียบทำความสะอาดง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิค รวมทั้งต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์อ่างน้ำอยู่เสมอด้วย

 ห้องน้ำในสถานศึกษา      
                        โรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมากนักเรียนใช้ห้องน้ำของโรงเรียนไม่ได้ บางแห่งไม่มีห้องน้ำและบางแห่งมีห้องน้ำแต่ไม่อยู่ในสภาพที่ใช้บริการได้ การจัดการให้ห้องน้ำในสถานศึกษาสามารถให้บริการที่ดีได้จึงเป็นความสามารถ ของผู้บริหาร และเป็นคุณภาพของสถานศึกษาที่ซ่อนเร้น           
 แต่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับคุณภาพ ด้านอื่น ๆ ของสถานศึกษา เช่น ด้านวิชาการ ด้านการกีฬา ด้านสุขอนามัย เป็นต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า โรงเรียนดี มีห้องน้ำสะอาด
                     กฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551 ) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้อาคารสถานศึกษามีห้องส้วม 1 ที่ และที่ถ่ายปัสสาวะ 1 ที่ ต่อนักเรียน นักศึกษาชาย 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียน นักศึกษาชายไม่เกิน 500 คน ส่วนที่เกิน 500 คนให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ ต่อจำนวนหน่วย 100 คน ส่วนนักเรียนนักศึกษาหญิงให้มีห้องส้วม 2 ที่ ต่อนักเรียน นักศึกษาหญิง 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียนนักศึกษาหญิงไม่เกิน 500 คน ส่วนที่เกิน 500 คน ให้เพิ่มห้องส้วม 2 ที่ ต่อ 100 คน และให้มีอ่างล้างมือด้วย 1 ที่ ไม่บังคับจำนวนว่ามีสัดส่วนเท่าใดเช่นเดียวกับห้องอาบน้ำไม่บังคับว่าต้องมี

 ปริมาณและคุณภาพของห้องน้ำในสถานศึกษา
            การสร้างห้องน้ำเพื่อ ให้มีปริมาณตามกฎกระทรวงนั้นใช้เป็นเหตุผลในการของบประมาณและสามารถสร้างให้ ได้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด แต่การดูแลรักษาให้ห้องน้ำในโรงเรียนหรือสถานศึกษาสามารถใช้การได้ดีเป็น ความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งก่อนจะพาบุตรหลานของตนไปเรียนที่สถานศึกษา ได้ไปสำรวจดูห้องน้ำของสถานศึกษานั้นก่อนและใช้ปริมาณและคุณภาพของห้องน้ำ เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียน แต่ถ้าเป็นโรงเรียนหรือสถานศึกษาในต่างจังหวัดหรือในเขตพื้นที่ ที่ผู้ปกครองไม่มีทางเลือกมากก็ต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม
                      ถ้าโรงเรียน หรือสถานศึกษาแห่งใดมีห้องน้ำมากพอและมีความสะอาด หรือได้รับการดูแลอย่างดีจะเป็นที่กล่าวถึงอย่างชื่นชมในหมู่ผู้เรียนและผู้ ปกครองและแสดงถึงความภูมิใจในสถานศึกษาของตน ความพึงพอใจในห้องน้ำของสถานศึกษาของผู้เรียนและผู้ปกครองจึงเป็นตัวบ่งชี้ คุณภาพของสถานศึกษาอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการได้ในส่วน นี้ ความสะอาดของห้องน้ำนอกจากจะบอกรสนิยมและภาพลักษณ์ของสถานศึกษาแล้วยังนำไป สู่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของคนต่างชาติที่มาเยี่ยมชมสถานศึกษานั้น ๆ อีกด้วย

   การใช้ห้องน้ำ-ห้องส้วม 
          สำหรับนักเรียนจะแยกเป็นห้องน้ำหญิง - ห้องน้ำชาย ออกจากกันเป็นแต่ละหลัง   ซึ่งนักเรียนทุกคนจะต้องช่วยกันรักษารักษาความสะอาด  และถือเป็นหน้าที่จะต้องทำเพื่อให้การใช้ห้องน้ำ - ห้องส้วม ถูกสุขลักษณะ ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนี้                  
               1.ราดน้ำ เพื่อทำความสะอาดโถส้วมหลังจากใช้แล้วทุกครั้ง
               2.ผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว ควรห่อให้มิดชิดก่อนทิ้งลงขยะที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้ อย่าทิ้งลงในโถส้วมเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ส้วมอุดตัน       
               3.แต่งกายให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องส้วม
               4.ไม่ขีดเขียนข้อความให้เลอะเทอะ หรือเขียนคำหยาบ
               5.เมื่อเข้าส้วมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
               6.เมื่อพบว่าน้ำเต็มถังหรือภาชนะ ควรรีบปิดก๊อกทันที ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
               7.ควรฝึกตนเองในการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลาจนเป็นกิจนิสัยที่ถูกต้อง     
        
วิธีดูแลห้องน้ำ
               1. ห้องน้ำต้องแบ่งโซน ห้องน้ำบางที่จะไม่ได้แบ่งโซนแห้งและเปียกเอาไว้ ทำให้เป็นต้นเหตุหนึ่งในการเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำ ดังนั้นทางที่ดีคุณก็ควรแบ่งห้องน้ำเป็นโซนเปียก เอาไว้เฉพาะอาบน้ำ และแบ่งโซนแห้งเอาไว้เป็นส่วนของโถชักโครก
               2.ต้องมีอากาศถ่ายเท ห้องน้ำต้องมีอากาศถ่ายเทที่ดี
               3. กลิ่นในห้องน้ำ ไม่ควรมีอย่างยิ่ง ควรที่ล้างห้องน้ำบ่อยๆ หรืออาจจะนำสิ่งที่สามารถดับกลิ่นในห้องน้ำมาใช้ได้                  








                                        
                                                                                                 บทที่  3
วิธีการดำเนินโครงงาน

ตารางปฏิบัติ

ขั้นตอนการปฏิบัติ
สถานที่ปฏิบัติกิจกรรม
1.กำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ห้อง IT2
2.ศึกษาการทำโครงงาน
ห้อง IT2
3.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องน้ำ
ห้อง IT2
4.ลงมือปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขที่ได้กำหนดไว้
ห้องน้ำหญิงบางส่วน
5.รวบรวมข้อมูล แล้วนำมาพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์
ห้อง IT2











เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในปฏิบัติ
1.ที่คีบขยะ
2.ถุงใส่ขยะ


วิธีการศึกษา
1.ศึกษาวิธีการทำโครงงาน
2.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องน้ำ
3.นำแนวทางแก้ไขไปปฏิบัติจริง
4.ทำแบบสอบถามผู้ใช้ห้องน้ำ
5.นำข้อมูลที่หาได้ทั้งหมดพิมพ์ลงบนคอมพิวเตอร์


บทที่ 4
ผลการศึกษา

           ได้ห้องน้ำที่สะอาดปราศจากขยะ


                          







บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
     จากการทำโครงงาน การเก็บขยะช่วยให้บริเวณนั้นๆ สะอาด ปราศจากขยะ

ประโยชน์จากการทำโครงงาน
       1.ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำโครงงาน
       2.ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับห้องน้ำ

ข้อเสนอแนะ
       การทำความสะอาดห้องน้ำไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำความสะอาดเพื่อที่จะได้ห้องน้ำที่สะอาด น่าใช้